ประวัตินักจิตวิทยาการเรียนรู้



ประวัติของพาฟลอฟ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พาฟลอฟ


ชื่อ  อีวาน เปโตรวิช พาฟลอฟ
เกิด 14 กันยายน  ค.ศ.1849 ( 1849-09-14 ) รีซาน , จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต    27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1936 (อายุ 86 ปี) เลนินกราด , สหภาพโซเวียต
สาขาวิชา สรีวิทยา , จิตวิทยา , แพทย์
ผลงาน การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม Transmarginal.inhibition การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกียรติประวัติ      รางวัลโนเบลสาขาสรีวิทยา หรือการแพทย์ ( ค.ศ.1904 )






ประวัติของวัตสัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัตสัน นักจิตวิทยา

            เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้นำกลุ่มจิตวิทยา  พฤติกรรมนิยม นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี ไม่เลว(neutral-passive) การกระทำต่างๆของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง เป็นการศึกษาพฤติกรรมที่สามารถเห็นได้หรือวัดได้   วัตสัน ได้นำเอาทฤษฎีของ Pavlov มาเป็นหลักสำคัญ ในการอธิบายเรื่องการเรียนรู้แนวความคิดของ Watson ก็คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคทำให้เกิดการเรียนรู้กล่าวคือ การใช้สิ่งเร้าสองสิ่งมาคู่กันคือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCR) แล้วทำให้เกิดการตอบสนองอย่างเดียว




ประวัติของสกินเนอร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สกินเนอร์นักจิตวิทยา

            สกินเนอร์นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาส       สิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม "
การเสริมแรง(Reinforcement )
หมายถึงสิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก มีความคงทนถาวร เช่น การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการ ในการทดลอง Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
 1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร เป็นต้น
 2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negasitive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้า




ประวัติของธอร์นไดค์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ธอร์นไดค์นักจิตวิทยา

เอ็ดเวิร์ด ลี ธอร์นไดค์ (Edward Lee Thomdike) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกา เกิด วันที่ 31สิงหาคม ค.ศ.1814ที่เมืองวิลเลี่ยมเบอรี่ รัฐแมซซาชูเสท และสิ้นชีวิตวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1949 ที่เมืองมอนท์โร รัฐนิวยอร์ค
หลักการเรียนรู้
            ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง กล่าวถึง การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยมีหลักพื้นฐานว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุด




ประวัติของบันดูรา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บันดูรานักจิตวิทยา

              เกิดที่เมืองอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา ได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางจิตวิทยาคลินิก จากมหาวิทยาลัยไอโอวา   เขาสนใจทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม    รับตำแหน่งที่ภาควิชาจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด




ประวัติของเกสตัลท์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกสตัลท์นักจิตวิทยา

            ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ เกิดจากนักจิตวิทยาชาวเยอรมันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 โดยมีผู้นำกลุ่มคือ เวอร์ไธเมอร์ (Wertheimer) โคห์เลอร์ (Kohler) คอฟฟ์กา (Koffka) และเลวิน (Lewin)
ทั้งกลุ่มมีแนวความคิดว่า การเรียนรู้เกิดจากการจัดประสบการณ์ทั้งหลายที่อยู่กระจัดกระจายให้มารวมกันเสียก่อน แล้วจึงพิจารณาส่วนย่อยต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น